รายละเอียดงานเดินสายและติดตั้งระบบสายไฟเบอร์ออฟติก (ใหม่)

รายละเอียดที่ผู้ใช้บริการควรจะทราบเพื่อแจ้งแก่ผู้ให้บริการในการออกแบบและประเมินราคางานเดินสายและติดตั้งระบบสายไฟเบอร์ออฟติกได้อย่างถูกต้องตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ประกอบด้วย

 

1. ระยะทางและเส้นทางในการเดินสายติดตั้ง

โดยระยะสายไฟเบอร์ออฟติกทั้งหมดตลอดเส้นทางเป็น Indoor หรือ Outdoor หรือผสมกันทั้งสองแบบ

กรณีการเดินสายไฟเบอร์ออฟติกภายในอาคาร (Indoor) จะต้องระบุถึงวิธีการเดินสาย เช่น เดินสายไฟเบอร์ออฟติกบน Ladder, Wireway, Cabletray, Conduit (PVC,EMT,IMC,RSC) หรือวางไว้ใต้ Raised Floor

กรณีเดินสายไฟเบอร์ออฟติกภายนอกอาคาร (Outdoor) จำเป็นต้องระบุถึงวิธีการเดินสายไฟเบอร์ออฟติก เช่น วิธีการเดินสายแบบแขวนบนเสาไฟฟ้า (Aerial) จำเป็นต้องระบุความสูงหรือสภาพเส้นทาง หรือกรณีการเดินสายแบบฝั่งไว้ใต้ดินแบบฝั่งโดยตรง (Direct Burial), ฝั่งใส่ท่อ HDPE หรือดึงสายผ่าน ManHole ต้องระบุถึงความลึกและเป็นพื้นที่อับอากาศหรือไม่

กรณีเดินสายไฟเบอร์ออฟติกทั้งภายในและภายนอกอาคาร (Indoor/Outdoor) จำเป็นต้องระบุเส้นทางและวิธีการเดินสายไฟเบอร์ออฟติกตลอดสาย และกำำหนดประเภทสายเป็นแบบ Indoor/Outdoor

เพื่อความสะดวกในการประเมินราคา และเตรียมอุปกรณ์ในการติดตั้ง

 

2. คุณภาพสายไฟเบอร์ออฟติก ประเภทชนิดของสายไฟเบอร์ออฟติก และจำนวนแกนไฟเบอร์ (Core) ตามที่ต้องการ 

การกำหนดคุณภาพของสายไฟเบอร์ โดยยึดถือจากยี่ห้อของสายหากสามารถระบุได้ก็จะทำให้การประเมินราคาเป็นไปอย่างถูกต้องใกล้เคียง

กรณีประเภทของสายไฟเบอร์ออฟติกจำเป็นต้องระบุว่าเป็น Single Mode หรือ Multi Mode ซึ่งต้องพิจารณาเป็นสำคัญหากงานที่เดินสายและติดตั้งใหม่จำเป็นต้องทำการเขื่อมโยงเข้ากับระบบสายไฟเบอร์เก่าจากระบบเดิมที่มีอยู่ ถ้าผู้ใช้บริการไม่สามารถระบุได้ว่า่สายไฟเบอร์เก่าเป็นประเภทใดก็สามารถแจ้งผู้ให้บริการใช้เครื่องมือตรวจสอบให้ถูกต้องแน่นอน

กรณีชนิดของสายไฟเบอร์ออฟติก ในปัจจุบันที่พบจะมี

   1.สาย Indoor

   2.สาย Outdoor

   3.สาย Indoor/Outdoor

   4.สาย Anti-bending

   5.สาย Drop-wire

   6.สาย Fig8 และ

   7.สาย ADSS (All-Dielectric Self Support)

และจำนวนแกนไฟเบอร์ (Core) มีตั้งแต่ 1-2-4-6-12-24-48-60-72-96 Core

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้หากผู้ว่าจ้างไม่ทราบหรือไม่สามารถตรวจสอบบ่งชี้ได้แน่ชัด ก็จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องมือในการตรวจสอบจากผู้ให้บริการ

 

3. จำนวนจุดเชื่อมต่อ หรือจุดพักสาย

กรณีงานเดินสาย Outdoor จำเป็นต้องระบุจำนวนและประเภทของ Fiberoptic Distribution Unit (Steel or Stanless) รวมถึงขนาดของ FDU และความสูงในการติดตั้ง

กรณีที่มีการพักเพื่อเชื่อมสายไฟเบอร์ออฟติก จำเป็นต้องระบุจำนวนและประเภทของ Enclousure (Aerial or Underground, Vertical or Horizontal)

กรณีงานเดินสาย Indoor การจัดเก็บสายไฟเบอร์ออฟติกต้นทางและปลายทางจะทำการจัดเก็บเข้าตู้ RACK หรือ นำเข้า Fiberoptic Distribution Box(Wall Mount) หรือเข้า Splice Tray เป็นรายละเอียดที่จำเป็นต้องระบุเพื่อการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์

 

4. ประเภทของ Connector

เพื่อจะนำสายไฟเบอร์ออฟติกเชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ ผู้ใช้บริการจึงจำเป็นต้องทราบรายละเอียดของระบบและอุปปกรณ์ที่ตนจะนำมาใช้ร่วมกันกับระบบสายไฟเบอร์ออฟติก เช่น ST, SC, LC หรือ FC เป็นต้น

 

5. รายละเอียดของสถานที่ทำงาน

มีระบบมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานหรือไม่ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการทำงาน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน เช่น อุปกรณ์ PPE, วิทยุสื่อสารแบบกันประกายไฟ, และอุปกรณ์การทำงานในพื้นที่อับอากาศ และ

 

6. วันที่เริ่มงาน และระยะเวลาในการทำงาน

 

โดยรายละเอียดทั้งหมดหากผู้ใช้บริการมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามได้โดยตรงกับผู้ให้บริการ

 

Visitors: 145,418