รายละเอียดงานตรวจสอบ และซ่อมแซมดูแลรักษาระบบสายไฟเบอร์ออฟติก (เก่า)

รายละเอียดที่ผู้ใช้บริการต้องทราบเพื่อแจ้งแก่ผู้ให้บริการในการประเมินราคาและกำหนดวิธีการตรวจสอบ แก้ไขปัญหางานซ่อมแซมระบบสายไฟเบอร์ออฟติก ซึ่งประกอบด้วย

 

1. ประเภทชนิดของสายไฟเบอร์ออฟติก และจำนวนแกนไฟเบอร์ (Core) ที่มีปัญหาต้องแก้ไขปรับปรุง

กรณีประเภทของสายไฟเบอร์ออฟติกจำเป็นต้องระบุว่าเป็น Single Mode หรือ Multi Mode ถ้าผู้ใช้บริการไม่สามารถระบุได้ว่า่สายไฟเบอร์ออฟติกเป็นประเภทใดก็สามารถแจ้งผู้ให้บริการใช้เครื่องมือตรวจสอบให้ถูกต้องแม่นยำ

และจำนวนแกนไฟเบอร์ (Core) ซึ่งจำเป็นต้องระบุ เพื่อประโยชน์ในการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และประเมินราคาเบื้องต้นให้ทราบ

 

2. ระยะสาย และเส้นทางในการเดินสายติดตั้ง

โดยต้องระบุถึงระยะสายไฟเบอร์ออฟติกทั้งหมด ตลอดจนข้อมูลเส้นทางการเดินสายว่าเป็น Indoor หรือ Outdoor หรือผสมกันทั้งสองแบบ

กรณีการเดินสายไฟเบอร์ออฟติกภายในอาคาร (Indoor) จะต้องระบุถึงวิธีการเดินสาย เช่น เดินสายไฟเบอร์ออฟติกบน Ladder, Wireway, Cabletray, Conduit (PVC,EMT,IMC,RSC) หรือวางไว้ใต้ Raised Floor

กรณีเดินสายไฟเบอร์ออฟติกภายนอกอาคาร (Outdoor) จำเป็นต้องระบุถึงวิธีการเดินสายไฟเบอร์ออฟติก เช่น วิธีการเดินสายแบบแขวนบนเสาไฟฟ้า (Aerial) จำเป็นต้องระบุความสูงหรือสภาพเส้นทาง หรือกรณีการเดินสายแบบฝั่งไว้ใต้ดินแบบฝั่งโดยตรง (Direct Burial), ฝั่งใส่ท่อ HDPE หรือดึงสายผ่าน ManHole ต้องระบุถึงความลึกและเป็นพื้นที่อับอากาศหรือไม่

กรณีเดินสายไฟเบอร์ออฟติกทั้งภายในและภายนอกอาคาร (Indoor/Outdoor) จำเป็นต้องระบุเส้นทางและวิธีการเดินสายไฟเบอร์ออฟติกตลอดสาย เพื่อความสะดวกในการประเมินราคา และเตรียมอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุง

 

3. จำนวนจุดเชื่อมต่อ หรือจุดพักสาย

กรณีงานเดินสาย Outdoor จำเป็นต้องระบุจำนวนและตำแหน่งติดตั้งของ FDU รวมถึงขนาดของ FDU และความสูงในการติดตั้ง

กรณีที่มีการพักเพื่อเชื่อมสายไฟเบอร์ออฟติก จำเป็นต้องระบุจำนวนและประเภทของ Enclousure (Aerial or Underground, Vertical or Horizontal)

กรณีงานเดินสาย Indoor การจัดเก็บสายไฟเบอร์ออฟติกต้นทางและปลายทางจะทำการจัดเก็บเข้าตู้ RACK หรือ นำเข้า Fiberoptic Distribution Box(Wall Mount) หรือเข้า Splice Tray เป็นรายละเอียดที่จำเป็นต้องระบุเพื่อการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุง 

 

4. ปัญหาที่เกิดขึ้นและตำแหน่งหรือระยะสายไฟบเอร์ออฟติกที่เกิดปัญหา

หากผู้ใช้บริการสามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและระบุถึงตำแหน่งที่เกิดปัญหาได้ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการที่จะทำให้ระยะเวลาในการซ่อมแซมระบบสายไฟเบอร์ออฟติกเป็นไปด้วยความรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายแก่ผู้ใช้บริการ

 

5. รายละเอียดของสถานที่ทำงาน

มีระบบมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานหรือไม่ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการทำงาน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน เช่น อุปกรณ์ PPE, วิทยุสื่อสารแบบกันประกายไฟ, และอุปกรณ์การทำงานในพื้นที่อับอากาศ และ

 

6. วันที่เริ่มงาน และระยะเวลาในการทำงาน

 

โดยรายละเอียดทั้งหมดหากผู้ใช้บริการมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามได้โดยตรงกับผู้ให้บริการ

Visitors: 145,537