การประยุกต์ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง OTDR

การประยุกต์ใช้เครื่อง OTDR

     1. การตรวจสอบม้วนเคเบิลเส้นใยแก้วนำแสง สามารถใช้เครื่อง OTDR ตรวจสอบเส้นใยแก้วนำแสงก่อนทำการวางสายเนื่องจากเคยพบปัญหาว่าหลังทำการวางระบบไปแล้วพบว่าสายเคเบิลกลับมีปัญหา

     2. การประเมินค่าเคเบิลใหม่ก่อนทำการติดตั้ง หลังจากทำการวางสายเคเบิลไปแล้ว ก็ยังควรต้องมีการตรวจสอบอีกครั้ง เนื่องจากหลังทำการติดตั้งแล้วซึ่งย่อมต้องมีการสูญเสียเนื่องจากการเชื่อมต่อแบบต่าง ๆ ในแต่ละจุด การสะท้อน การโค้งงอของเส้นใยแก้วนำแสง ค่าการลดทอนต่าง ๆ และค่าอันเกิดจากการวางระบบในแต่ละครั้งอื่น ๆ จำเป็นต้องบันทึกค่าเริ่มต้นไว้ทุกครั้งเพื่อเป็นมาตรฐานในการติดตั้งครั้งต่อไปตลอดจนทราบค่าลดทอนในระบบนั้น ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับการซ่อมแซมอันจะต้องเกิดขึ้นในอนาคตว่าการลดทอนรวมต้องอยู่ในค่านี้ยังยอมรับได้ก่อนรื้อทิ้งไปและเปลี่ยนเคเบิลเส้นใหม่มาแทน

     3.การตรวจสอบการทำงานของเส้นใยแก้วนำแสง เป็นการตรวจสอบว่าเคเบิลในแต่ละจุดยังคงมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดสัญญาณแสงได้ดีเช่นเดิมหรือไม่ เพราะมีบางครั้งสามารถวัดได้ก่อนแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเกิดปัญหาทำให้ระบบเสียหายไม่สามารถทำงานได้ซึ่งจะสร้างความสูญเสียเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้าพบว่าค่าการสูญเสียที่จุดหนึ่งหากมีความชันมากสังเกตได้บนหน้าจอ หรือปรากฏการเชื่อมต่อแบบหลอมรวมขึ้นทั้ง ๆ ที่บริเวณนั้นไม่มีการเชื่อมต่อเลย นั่นย่อมแสดงว่าบริเวณดังกล่าวอาจเกิดปัญหา

     4.การประเมินค่าเส้นทางที่สงสัยว่าจะเกิดปัญหา ถ้าการส่งผ่านสัญญาณเกิดการผิดพลาดในบริเวณหนึ่ง ๆ เครื่อง OTDR สามารถยืนยันได้ว่าเส้นใยแก้วนำแสงนั้นกำลังถูกต้องหรือผิดพลาด

     5.ตำแหน่งที่เกิดการผิดพลาดเครื่อง OTDR สามารถระบุตำแหน่งที่เกิดการผิดพลาดได้อย่างถูกต้อง

 

ข้อควรระวังในการใช้เครื่อง OTDR คือ

     1. จะต้องทำการต่อ Fiber Optic Cable เข้ากับ OTDR ก่อนที่จะจ่าย Optical Power ออกจากเครื่อง OTDR ทั้งนี้เนื่องจาก IR LASER ที่ไม่สามารถมองเห็นได้นี้มีกำลังมากพอที่จะทำอันตรายต่อระบบรับภาพของมนุษย์

     2. ห้ามมองเข้าไปที่ปลาย Fiber Optic Cable ในขณะที่ปลายอีกด้านถูกต่ออยู่กับเครื่อง OTDR เพราะในขณะนั้นเครื่อง OTDR อาจจะกำลังจ่าย Optical Power เข้ามาในสาย Fiber Optic ก็ได้ และ

     3. อุปกรณ์ที่ใช้ในงานทาง Fiber optic Communications ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กและบอบบางต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ 

 

(แหล่งที่มาของข้อมูล http://ee.swu.ac.th/E-learning%20Fiber%20Optic/images/theory%20fiber%20optic/ระบบสื่อสารเส้นใยแก้วนำแสง.pdf)

Visitors: 145,524